head

 

 วันที่ 10 มิถุนายน 2563 เวลา 10.00 น.

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ในฐานะผู้แทนองค์การสุขภาพสัตว์โลกของประเทศไทย (OIE delegate of Thailand) ประชุมทางไกลคณะกรรมาธิการ OIE ประจำภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกไกล และโอเชียเนีย โดยได้นำเสนอการดำเนินงานและรายงานผลเรื่องความสำเร็จในการควบคุมและป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) และสถานการณ์และมาตรการควบคุมโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้าของประเทศไทย ดังนี้
1. ความสำเร็จในการควบคุมและป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) โรค ASF มีการระบาดเกิดในหลายประเทศทั่วโลก รวมถึงในปนะเทศเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศไทยถึงแม้ไม่เกิดโรค จึงมีความเสี่ยงในเกิดโรค กรมปศุสัตว์จึงได้ร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการป้องกันและเฝ้าระวังการเกิดโรค ได้จัดทำแผนปฎิบัติการเพื่อเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคดังกล่าว มีการผลักดันยกระดับให้เป็นวาระแห่งชาติ สนับสนุนงบประมาณ ได้อนุมัติโดยคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2562 แผนประกอบด้วย 3 ระยะ คือ ระยะแรก คือ ระยะก่อนเกิดโรค เป็นการเฝ้าระวังและป้องกัน ระยะที่สอง คือ ระยะเกิดโรค เป็นการกำจัดโรค และระยะที่สาม คือ ระยะฟื้นฟู เป็นการเยียวยาและฟื้นฟูความเสียหายและผลกระทบที่เกิดขึ้น หลักสำคัญในการควบคุมโรค ประกอบด้วย 8 ข้อ คือ 1. ด้านนโยบายและการจัดการ 2. การป้องกัน มีการประเมินความเสี่ยง 3. ยกระดับความปลอดภัยทางชีวภาพ 4. การเฝ้าระวังโรค 5. ด้านห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ 6. การสนับสนุนการดำเนินงาน เช่น อุปกรณ์ งบประมาณ และบุคลากร 7. การสื่อสารความเสี่ยง และ 8. การบรรเทาและฟื้นฟูผลกระทบ
ซึ่งจากการดำเนินงานอย่างเข้มงวด ทำให้ไม่มีรายงานการเกิดโรค ASF ในประเทศไทย โดยสิ่งสำคัญที่ทำให้เกิดความสำเร็จในการป้องกันและควบคุมโรคได้คือ ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน (PPP: Public private partnership) สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ผู้ประกอบการอุตสาหกรรมด้านสุกร หน่วยงานทั้งรัฐ และเอกชนที่เกี่ยวข้อง กระทรวงสาธารณสุข ประเทศเพื่อนบ้าน และองค์กรระหว่างประเทศ
2. สถานการณ์และมาตรการควบคุมโรคกาฬโรคแอฟริกาในม้า (AHS) สืบเนื่องจากการเกิดโรค AHS ในประเทศไทยเป็นครั้งแรก กรมปศุสัตว์ได้รับแจ้งวันที่ 25 มีนาคม 2563 และได้เร่งลงพื้นที่สอบสวนโรคและรายงานไป OIE ทันที และรายงานต่อเนื่องรายสัปดาห์ จากการดำเนินงานต่อเนื่องภายในระยะเวลา 2 เดือน โดยสถานการณ์ล่าสุดสามารถควบคุมการเกิดโรคได้วงพื้นที่จำกัด ไม่มีรายงานม้าตายเพิ่มกว่า 10 วันแล้ว กรมปศุสัตว์ได้ร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องมีการตั้งคณะกรรมการ คณะอนุกรรมการ และคณะทำงานเพื่อดำเนินการครอบคลุมทั้งด้านวิชาการ วัคซีน การลงพื้นที่ภาคสนาม การวิจัย และการศึกษาแมลงพาหะ มีการทำแผนปฎิบัติการกำจัดโรค AHS เพื่อคืนสถานภาพปลอดโรคจาก OIE ของประเทศไทย ประกอบด้วย 3 ระยะ โดย ระยะแรก คือ ระยะเผชิญเหตุ (กำลังอยู่ในระยะนี้) ระยะสอง คือ ระยะเฝ้าระวังและป้องกันการอุบัติโรคซ้ำ และระยะสาม คือ การขอคืนสภาพปลอดโรคของประเทศไทย โดยสิ่งสำคัญที่สุดในการดำเนินงานให้สำเร็จ คือ ความร่วมมือจากทุกภาคส่วน PPP เป้าหมายหลัก คือ การกำจัดโรคในประเทศไทย การควบคุมโรคในม้าลาย และการขอคืนสภาพสถานะปลอดโรคจาก OIE ภายในระยะเวลา 2 ปี
นอกจากนี้ ได้มีการเสนอพิจารณาให้มี Vaccine bank แบบชั่วคราวในภูมิภาคนี้ สำหรับโรค AHS เพื่อลดการแพร่กระจายของโรค หากมีการเกิดในประเทศเพื่อนบ้าน และประเทศไทยมีความพร้อมและยินดีที่เป็นเจ้าภาพจัดประชุมคณะกรรมาธิการ OIE ประจำภูมิภาคเอเชีย ตะวันออกไกล และโอเชียเนีย ครั้งที่ 32 ในปี 2564 ณ จังหวัดเชียงราย ซึ่งจะส่งหนังสือแจ้งอย่างเป็นทางการต่อไป
ณ ห้องประชุมพระพิรุณ ตึกอำนวยการ กรมปศุสัตว์

Dr. Sorravis (DG) the OIE delegate of Thailand conferences OIE regional Commission for Asia, the Far East and Oceania #
By Virtual Meeting for the 10 June 2020 - 10 p.m.
Dr. Sorravis Thaneto, the Director General of Department of Livestock Development as representative the OIE delegate of Thailand . He presented about the successful story on ASF prevention and control measures and AHS management and overall situation in Thailand.
1. The successful story on ASF prevention and control measures in Thailand
African swine fever outbreak occurred in many parts of the world including People Republic of China, and other South east Asian countries, causing widespread concern of ASF in Thailand. Department of Livestock development as the National veterinary services has prepared an ASF contingency and preparedness plan in order to be ready to response for the possibility of ASFV introduction which will cause a devastating impact to the swine industry and other related businesses. The contingency plan is established with the collaboration of academia, public and private sectors and international organization. The ASF contingency and preparedness plan has been issued to the National Agenda and budget on Prevention and Control has been approved by the cabinet in the 9 April 2019. The CPG plan is divided into 3 phases; 1. The first phase: before ASF outbreak 2. The second phase: Outbreak occurred and 3.The third phase : Recovery phase. The key elements of ASF contingency and preparedness plan comprises of 8 control measures as follows; 1. Policy and Administration, 2. Prevention of ASFV introduction 3.Enhancement of biosecurity practices 4. Enhancement of disease surveillance 5. Laboratory and diagnostic development 6. Enhancement of outbreak response 7. Risk communication and 8. Resilience and recovery plan
Until now, there is no case of ASF in Thailand .The key success in ASF prevention and control in Thailand is the Public private partnership such as Thai swine association, related businesses, other relevant public agencies such as Ministry of interior/Ministry of defense/MOPH, neighboring countries and international agencies.
2. AHS management and overall situation in Thailand
The first outbreak was reported to DLD on 25 March 2020, then DLD did the disease investigation on 26 March 2020. After that, DLD reported immediately to OIE on 27 March 2020 and reported the follow-up every weekcontinuously. The magnitude period was in March and April 2020, after control measures implemented, now we can reduce magnitude of AHS essentially within 2 months. We didn’t found new cases per day in the previous week. The situation is under control on limited outbreak area. We assigned the national eradication plan of AHS in Thailand that occurred from cooperation with every sections such as university, Government part and Private partnership. The plan can divided into 3 phase as follows; Phase 1 called Outbreak response phase (Thailand is on this phase), Phase 2 called Surveillance and prevention phase and Phase 3 called reinstate AHS free status of Thailand. On the public private partnership (PPP), the horse industry and veterinary services (DLD) are put together cooperation to meet the 3 common goals to create PPP in Thailand. Firstly, eradicate this disease in Thailand. Second, control measurement on zebra. And third, re-instate free status from OIE. Moreover, to manage all of part about AHS risk factor. DLD also approved subcommittee such as Technical Subcommittee AHS control in Zebra Subcommittee, Vector control and research subcommittee respectively.
In the other hand, Thailand proposed “In order to reduce the spread of African Horse Sickness in our region, Thailand would like to request OIE to establish the temporary Vaccine bank for African Horse Sickness.” And we are pleased to be the host for the 32th regional Commission for Asia, the Far East and Oceania in 2021.

ที่มาของข้อมูล : สำนักงานเลขานุการกรม