เว็บไซต์กรมปศุสัตว์เว็บไซต์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Follow us on Facebook Follow us on YouTube 

A- A A+

นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวถึงมาตรการรับมือและป้องกันโรคระบาดอหิวาต์แอฟริกาในสุกรที่กำลังแพร่กระจายในประเทศเพื่อนบ้านว่า ได้ดำเนินการป้องกันไม่ให้เข้าสู่ประเทศไทย โดยใช้มาตรการเชิงรุกมาต่อเนื่องในพื้นที่ตลอดแนวชายแดนไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยมั่นใจเอาอยู่

ข่าวที่เกี่ยวข้อง >> สั่งห้ามนำเข้าหมู จากลาว หลัง อหิวาต์หมูฯระบาด

ทั้งนี้เพราะมีมาตรการป้องกันมาก่อนหน้านี้แล้ว เช่น ห้ามนำเข้าสุกรทุกชนิดทั้งผลิตภัณฑ์แปรรูปจากสุกร การเข้มงวดตรวจสอบของด่านตรวจทุกด่านทั้งทางบก ทางน้ำ และท่าอากาศยาน รวมทั้งยังได้รับความร่วมมือจากสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งประเทศไทยสนับสนุนผู้เชี่ยวชาญโรคสุกรมาร่วมตรวจสุกรตามฟาร์มต่างๆ อีกด้วย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง >> กรมปศุสัตว์ ย้ำโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ไม่ติดต่อคน

ข่าวที่เกี่ยวข้อง >> ความต่างระหว่าง “ไข้หวัดหมู”กับ“อหิวาต์แอฟริกาในสุกร”

393843

วันที่ 15 พฤษภาคม 2562 นายสัตวแพทย์ศีลธรรม  วราอัศวปติ ปศุสัตว์เขต 4 เป็นประธานเปิดการฝึกการเฝ้าระวังและป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร แบบการฝึกเชิงปฏิบัติการรูปแบบการฝึกเฉพาะหน้าที่ (Functional Exercise:FEX) ณ โรงแรมไอโฮเทล จังหวัดนครพนม  โดยการฝึกมุ่งเน้นการทดสอบหน้าที่ของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการเผชิญเหตุกรณีเกิดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรจากสถานการณ์สมมติที่กำหนดขึ้น เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมการป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรในพื้นที่จังหวัดนครพนม

วันที่ 27 มีนาคม 2562 เวลา 9.00 น. 
     นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานเปิดงานสัมมนา “Seminar on African Swine Fever (ASF) Risk Preparedness” ระหว่างวันที่ 26-27 มีนาคม 2562 พร้อมด้วยนายสัตวแพทย์จีระศักดิ์ พิพัฒนพงศ์โสภณ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ นายรณชัย จิตรวิเศษ ผู้ว่าราชการจังหวัดหนองคาย ปศุสัตว์เขต 2, 3, 4 และ 5 ผอ.สำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ ผอ.กองสารวัตรและกักกัน ผู้แทนจากปศุสัตว์จังหวัด เจ้าหน้าที่ด่านกักกันสัตว์ ผู้แทนจากกองความร่วมมือด้านการปศุสัตว์ระหว่างประเทศ ผู้แทนจากสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ผู้แทนจากประเทศกลุ่มอาเซียนประกอบด้วย อธิบดีจากประเทศกัมพูชา รองอธิบดีจาก สปป. ลาว และรองอธิบดีจากเวียดนาม และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง 
     โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African Swine Fever: ASF) เป็นโรคที่ไม่มีวัคซีน เกิดโรคเฉพาะในสุกร ไม่ติดต่อสู่คน ทำให้เกิดอัตราการตายสูงในสุกร ส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายอย่างมากต่ออุตสาหกรรมผู้ผลิตและผู้เลี้ยงสุกร ซึ่งปัจจุบันสถานการณ์การระบาดของโรค ASF มากขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน และเวียดนามซึ่งอยู่ในภูมิภาคเอเชีย ส่งผลกระทบและสร้างความเสียหายต่อความมั่นคงทางด้านอาหาร (Food Security) ระดับภูมิภาคด้วย 
     เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมในการรับมือและสร้างเครือข่ายปฏิบัติงานที่เกี่ยวข้องกับโรค ASF ระดับภูมิภาค กรมปศุสัตว์ร่วมกับสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติได้จัดงานสัมมนาขึ้น โดยจุดประสงค์เพื่อทบทวนสถานการณ์และความเสี่ยงของโรค ASF ในสุกรที่มีต่อประเทศในแถบภูมิภาค สร้างกลไกความร่วมมือเพื่อเตรียมความพร้อมในการป้องกันการเกิดโรค สร้างเครือข่ายระหว่างหน่วยงาน สร้างความเข้มแข็งของเครือข่ายตามชายแดน โดยมีองค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) ให้การสนับสนุนข้อมูลทางด้านวิชาการ นอกจากนี้ในการสัมมนามีการนำเสนอข้อมูลสถานการณ์ปัจจุบันของโรค ASF และความเสี่ยงของภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แผนในการเตรียมความพร้อมและการรับมือของโรค ASF ระดับชาติของประเทศต่างๆ การประเมินความเสี่ยงในการระบาดของโรค ASF และการแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างประเทศต่างๆ ด้านความร่วมมือ การสร้างความเข้มแข็งตามแนวชายแดนระหว่างประเทศ การสร้างเครือข่าย และการระบุจัดความสำคัญในการเตรียมความพร้อมและความร่วมมือระดับภูมิภาค เพื่อให้กลไกความร่วมมือเกี่ยวกับโรค ASF ระดับภูมิภาคสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพต่อไป 
     นอกจากนี้ เป็นประธานปล่อยขบวนคาราวานความร่วมมือเฝ้าระวังและป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ประกอบด้วยเจ้าหน้าที่หน่วยปฎิบัติการพิเศษกว่า 45 ราย พร้อมยานพาหนะ 15 คัน ร่วมกับผู้แทนจากประเทศกัมพูชา ลาว และเวียดนาม เพื่อพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อต้านโรค ASF ตามพื้นที่ชายแดนและประเทศเพื่อนบ้าน ร่วมมือดำเนินการตามมาตราการป้องกันโรค ASF ของกรมปศุสัตว์ต่อไป โดยเริ่มปฎิบัติการตั้งแต่วันที่ 27 มีนาคม - พฤษภาคม 2562 นี้
     ณ โรงแรมอัศวรรณ จังหวัดหนองคาย
 
 

 

 

 

 

22 มีนาคม 2562 เวลา 11.00น.นายกฤษฎา บุญราช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานประชุมหารือเรื่อง Renderring เครื่องทำลายซากสัตว์  พร้อมด้วยนายสรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมในครั้งนี้     
          โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African swine fever) เป็นโรคระบาดในสุกรที่มีความรุนแรง และก่อให้เกิดความสูญเสียต่อสุกรทุกกลุ่มอายุ เป็นโรคสัตว์แปลกถิ่นเนื่องจากไม่พบการระบาด ของโรคนี้ในประเทศไทย หากมีการระบาดเกิดขึ้นจะส่งผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกร เป็นอย่างมากเพราะในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนหรือยาที่ใช้ในการป้องกันโรค     
          กรมปศุสัตว์ ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านสุขภาพสัตว์ จึงได้จัดทำแผนเตรียมความ พร้อมรับมือโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรในประเทศไทย เพื่อเป็นการเตรียมความพร้อมเผชิญเหตุ หากเกิดการระบาดของโรคโดยเตรียมแผนเชิงรุกและเชิงรับ และที่สำคัญหากเกิดการระบาดของโรคดังกล่าว ในประเทศไทยกรมปศุสัตว์จึงเห็นชอบว่าการเตรียมการจัดหาเครื่องRenderringหรือเครื่องกําจัดซากสัตว์น่าจะเป็นกาาควบคุมโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้มีการค้นคว้าและวิจัย ซึ่งจะช่วยลดปัญหาในการหาวิธีที่จะกําจัดซากภายในฟาร์ม โดยขบวนการย่อยสลาย สามารถย่อยสลายซากสัตว์ได้ทุกชนิดขจัดปัญหาเรื่องกลิ่นและพื้นที่เต็มรวบรวมการทำงานไว้ในเครื่องเดียวกันลดขั้นตอนการฝังกลบ
      เหตุผลและความจำเป็นของเครื่อง Rederring  สรุปได้ดังนี้
  ​  - เพื่อก่อให้เกิดการจัดการซากสัตว์ตายปกติในฟาร์มเป็นไปอย่างมีระบบที่ถูกต้อง
​   - เพื่อควบคุมป้องกันการติดต่อและการกระจายของโรคระบาดของสัตว์ในประเทศ ซึ่งมีผลในภาพรวมของประเทศในการส่งเนื้อและผลิตภัณฑ์จากสัตว์ไปจำหน่ายยังต่างประเทศได้
    ​- เพื่อสร้างระบบการจัดการสิ่งแวดล้อมที่ดี ลดปัญหามลพิษ 
ณ ห้องประชุม 124 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์