เว็บไซต์กรมปศุสัตว์เว็บไซต์กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Follow us on Facebook Follow us on YouTube 

A- A A+

ff

อธิบดีปศุสัตว์ ตั้งวอร์รูม ศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์สุกร เตือนเกษตรกร ฟาร์มเลี้ยง พบอาการผิดปกติรีบแจ้งทันทีตลอด24ชม.

S 13344834

เมื่อวันที่ 24มิ.ย.นายสัตวแพยท์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยว่าได้ตั้งศูนย์ปฏิบัติการตอบโต้ภาวะฉุกเฉินโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร(ASF)โดยเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร ฟาร์มสุกร สามารถดาวน์โหลดแอพพิเคชั่นDLD4.0 ของกรมปศุสัตว์ได้ตลอด24ชม.หรือแจ้งสายด่วนโทร06-3225-6888 เพื่อขอรับความช่วยเหลือด้านปศุสัตว์และกรณีได้รับผลกระทบด้านปศุสัตว์จากน้ำแล้ง ภัยแล้ง แจ้งการเกิดโรคระบาด แจ้งเบาะแสการกระทำผิดตามพ.ร.บ.ต่างๆที่กรมปศุสัตว์ รับผิดชอบ แจ้งเฝ้าระวังทางอาการโรคระบาด

นายสัตวแพทย์สรวิศ กล่าวว่าสถานการณ์โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ที่ระบาดในประเทศเพื่อนบ้าน รวมทั้งในเอเซียและยุโรป รวม19ประเทศ ซึ่งเป็นโรคไวรัสที่ระบาดในสุกร เมื่อเกิดโรคจะทำให้ตายเป็นจำนวนมาก ยังไม่มีวัคซีนและวิธีการรักษาที่จำเพาะ แม้ไม่ติดต่อสู่คนแต่สามารถอยู่ในสิ่งแวดล้อมหรือซากได้นานหลายเดือน ประเทศที่มีการระบาดจะมีผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจและสังคม

“ประเทศไทยยกระดับมาตรการป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรเป็นวาระแห่งชาติ รวมมือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องเตรียมรับมือไว้ล่วงหน้า เพื่อเร่งดำเนินการไม่ให้โรคเข้าไทย ดังนั้นผู้เลี้ยงสุกรต้องเฝ้าระวังโรคใกล้ชิด สังเกตอาการสัตว์เลี้ยง หากพบผิดปกติรีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ทันทีเข้าทำลายฝั่งกลบ เกษตรกรจะได้รับการช่วยเหลือชดเชยตามพ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ โดยอาการของโรค ตายเฉียบพลัน มีไข้สูง ผิวหนังแตก มีจุดเลือดออกหรือรอยช้ำ เฉพาะใบหู ท้อง ขาหลัง และมีอาการทางระบบอื่น เช่นทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร การแท้งในทุกช่วงของการตั้งท้อง จะพบได้ทุกกลุ่มและทุกช่วงอายุ อัตราป่วย100% อัตราตาย30%-100% ส่วนในลูกสุกรอัตราการตาย80-100%ภายใน4วัน”นายสัตวแพทย์สรวิศ กล่าว

ทั้งนี้เมื่อพบสุกรป่วยตายผิดปกติ หรือมีอาการตามนิยามโรค มาตรการป้องกัน เข้มงวดระบบการป้องกันโรค เช่น รู้แหล่งที่มาของสุกร ห้ามคนนอกเข้าฟาร์ม แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่เพื่อเร่งดำเนินการช่วยเหลือ หรือติดต่อ call center หรือ ผ่านแอพพิเคชั่นDLD4.0แจ้งการเกิดโรคระบาด ห้ามเคลื่อนย้ายสุกรออกจากฟาร์ม

นายสัตวแพทย์สรวิศ กล่าวว่าสถานการณ์แนวโน้มของโรคระบาดยังแพร่กระจายเป็นวงกว้าง เช่นประเทศจีน เวียดนาม กัมพูชา ลาว ส่วนประเทศไทยยังไม่เคยพบการระบาดของโรคนี้ โดยที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันทุกหน่วยงานบูรณาการ วางมาตรการคุมเข้มห้ามนำเข้าผลิตภัณฑ์จากสุกร เข้าประเทศอย่างเด็ดขาด จากประเทศที่มีการระบาด เช่นกุนเชียง ไส้กรอกทุกชนิด มั้มหรือหม่ำ หรือซาลามี แหนม หรือจิ้นส้ม แฮมทุกชนิด เบคอนทุกชนิด เนื้อหมูรมควัน เนื้อหมูดอง เนื้อหมูเบอร์เกอร์ เนื้อหมูหมักเกลือ เนื้อหมู โดยมีระยะฟักตัวของโรค5-15วัน ซี่งสุกร มีการติดต่อของโรคจากการสัมผัสสารคัดหลั่งของสุกรป่วย การหายใจเอาเชื้อเข้าไป การกินอาหารที่มีเชื้อปนเปื้อน โดนเห็บที่มีเชื้อกัด เสื้อผ้าอุปกรณ์ปนเปื้อนเชื้อโรคสามารถแพร่กระจายไวรัสได้

 

ที่มา: https://www.dailynews.co.th/politics/716618