รอธ.บุญญกฤชฯ เป็นประธานการประชุมชี้แจงงบประมาณโครงการเพิ่มประสิทธิภาพการเฝ้าระวังควบคุมและป้องกันโรคระบาดสัตว์
https://dcontrol.dld.go.th/webnew/index.php/en/news-menu/2018-08-01-04-31-09#sigFreeIddd450acf06
วันพุธที่ 25 ธันวาคม 2567 เวลา 13.00 น. นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานเปิดการอบรมโครงการพัฒนาระบบบริการการสัตวแพทย์ทางไกลของกรมปศุสัตว์ (DLD-Televet) หลักสูตร สำหรับผู้บริหารกรมปศุสัตว์ โดยมีนายสัตวแพทย์ณรงค์ เลี้ยงเจริญ ผู้อำนวยการสำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ ผู้อำนวยการสำนัก/กอง และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมฯ ณ โรงแรมโนโวเทล กรุงเทพ สยามสแควร์ จังหวัดกรุงเทพมหานคร
นับเป็นก้าวสำคัญของกรมปศุสัตว์ในการพัฒนาระบบบริการสัตวแพทย์ทางไกล ที่จะเชื่อมโยงความรู้ เทคโนโลยี และการให้บริการสู่เกษตรกรทั่วประเทศอย่างมีประสิทธิภาพ ตอบสนองต่อความท้าทายที่เราเผชิญอยู่ในปัจจุบัน เช่น การเข้าถึงบริการทางสัตวแพทย์ในพื้นที่ห่างไกล ความล่าช้าในการวินิจฉัยโรค และการแพร่ระบาดระบาดของโรคระบาดในสัตว์ ซึ่งส่งผลกระทบต่อเกษตรกรและเศรษฐกิจโดยรวม โดยโครงการนี้จะช่วย
ยกระดับการเข้าถึงบริการด้านสุขภาพสัตว์ ของอาสาปศุสัตว์ เกษตรกร และผู้เลี้ยงสัตว์อย่างทันท่วงที ได้รับการบริการการตรวจวินิจฉัยที่รวดเร็วผ่านการใช้งานเทคโนโลยีดิจิดัลด้วยระบบ VDO Call ซึ่งข่ายไห้เกษตรกรสามารถปรึกษาปัญหาสุขภาพสัตว์ ได้โดยตรงกับสัตวแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ สนับนุนความความยั่งยืน โดยการเพิ่มโอกาสให้เกษตรกรเข้าถึงองค์ความรู้ด้านการป้องกันโรคระบาดและการดูแลสัตว์เลี้ยง นอกจากนี้ยังส่งผลโดยตรงต่อการพัฒนาเศรษฐกิจฐานรากของประเทศ เกษศรกรสามารสามารลดต้นทุนทุนการเดินทาง ลดการสูญเสียจากโรคระบาดในสัตว์ และเพิ่มโอกาสในการสร้างรายได้ที่ยั่งยืน
ภาพ : ฉัตรชัย นวลปลอด ข่าว : คุณจิราภรณ์ เกตุบูรณะ / กลุ่มเผยแพร่ฯ / สลก. / กรมปศุสัตว์
วันที่ 11 ธันวาคม 2567 เวลา 13.30 น. นายบุญญกฤช ปิ่นประสงค์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานเปิดโครงการประชุมสัมมนา “การบูรณาการงานด้านสุขภาพสัตว์ กรมปศุสัตว์ ปีงบประมาณ พ.ศ. 2568” พร้อมด้วยผู้แทนหน่วยงานต่างๆ อาทิ สคบ.กสก สพส.สกม. กกจ.ศวพ.สสช.สทป.สพพ. ปศข.1-9 ปศจ.ทุกจังหวัด หัวหน้ากลุ่มพัฒนาวิชาการปศุสัตว์ และหน่วยงานในสังกัด เข้าร่วมประชุมเพื่อรับทราบนโยบายด้านสุขภาพสัตว์ และแนวทางแผนการดำเนินงานประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2568 โดยเน้นการประชุมแบบมีส่วนร่วมระหว่างส่วนกลางและส่วนภูมิภาค รับทราบปัญหาอุปสรรคต่อการทำงานในพื้นที่อันจะนำไปสู่แนวทาง การแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที รวมทั้งสามารถนำข้อมูลการปฏิบัติงานจากผู้ปฏิบัติงานจริงมาใช้ในการปรับปรุงแก้ไข และวางแผนการดำเนินการภารกิจต่างๆเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพงานด้านสุขภาพสัตว์ต่อไป โดยกำหนดจัดประชุมระหว่างวันที่ 11 – 13 ธันวาคม 2567 ณ ภูสักธารรีสอร์ท จังหวัดนครนายก
ภาพ/ข่าว : สำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์
เอกสารประกอบการประชุม : https://drive.google.com/drive/folders/1w7oZfTScx4flpptFzoU7pkkkg-0kJh2b?usp=sharing
รอธ.บุญญกฤชฯ ประชุมคณะอนุกรรมการ วิเคราะห์การผลิตและการตลาดสุกร ครั้งที่ 1/2567
วันอังคารที่ 24 ธันวาคม 2567 เวลา 09.30 น. นายสัตวแพทย์บุญญกฤช ปิ่นประสงค์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานการประชุมคณะอนุกรรมการ วิเคราะห์การผลิตและการตลาดสุกร ครั้งที่ 1/2567
พร้อมอนุกรรมการฯ และผู้แทนกอง/สำนักที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมเพื่อรับทราบสถานการณ์การผลิต และการตลาดสุกรในปัจจุบัน และพิจารณา ทบทวนประสิทธิภาพการผลิตสุกรขุนของประเทศไทย เพื่อนำไปวางมาตรการการดำเนินนโยบายด้านการผลิตและการตลาดสุกรต่อไป
ณ ห้องประชุมลีลาวดี ตึกชัยอัศวรักษ์ ชั้น 6 กรมปศุสัตว์ พญาไท
กรมปศุสัตว์ส่งเจ้าหน้าที่ร่วมงานวิชาการระดับโลก สร้างเครือข่ายความร่วมมือด้านสุขภาพสัตว์
นายสัตวแพทย์ ดร.ศิษฏ์ เปรมัษเฐียร พร้อมคณะผู้แทนจากกรมปศุสัตว์ ประกอบด้วย นายสัตวแพทย์ ดร.วงศ์อนันต์ ณรงค์วาณิชการ สัตวแพทย์หญิง ดร.อรพรรณ อาจคำภา สัตวแพทย์หญิงวิไลภรณ์ วงศ์พฤกษาสูง นายสัตวแพทย์นวรัฐ นิลประภา และสัตวแพทย์หญิงศราวลี ศุภกาญจน์ พร้อมด้วย ผู้เข้าอบรมโครงการ R-FETPV จากประเทศเนปาลและอินโดนีเซีย เดินทางเข้าร่วมการประชุมวิชาการระดับนานาชาติ 17th International Symposium on Veterinary Epidemiology and Economics (ISVEE17) ระหว่างวันที่ 11-15 พฤศจิกายน 2567 ณ เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย โดยมีผู้เข้าร่วมการประชุมกว่า 1,100 คนจากทั่วโลก
การประชุมครั้งนี้ถือเป็นเวทีสำคัญในการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และประสบการณ์ด้านระบาดวิทยาและเศรษฐศาสตร์ทางสัตวแพทย์ โดยเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ได้นำเสนอผลงานวิจัยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในประเด็นสำคัญ อาทิ
-การพัฒนาบุคลากรด้านระบาดวิทยาเพื่อเพิ่มศักยภาพในการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรคระบาดในสัตว์
-การเตรียมความพร้อมจัดการสภาวะฉุกเฉินด้านสุขภาพสัตว์เพื่อรับมือกับสถานการณ์โรคระบาดที่อาจเกิดขึ้นอย่างทันท่วงที
-One Health implementation: การบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาคส่วนต่างๆ เพื่อแก้ไขปัญหาโรคพิษสุนัขบ้า
-การควบคุมและป้องกันโรคสำคัญในโค เช่น BRDC และ Botulism
-การวิเคราะห์สถานการณ์จากการเฝ้าระวังโรคพิษสุนัขบ้า
การเข้าร่วมประชุมครั้งนี้สอดคล้องกับนโยบายของกรมปศุสัตว์ในการยกระดับมาตรฐานการปศุสัตว์ของประเทศ และสร้างเครือข่ายความร่วมมือกับนานาชาติ เพื่อแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และเทคโนโลยีที่ทันสมัย นอกจากนี้ ยังเป็นการส่งเสริมภาพลักษณ์ของประเทศไทยในฐานะผู้นำด้านการปศุสัตว์ในระดับภูมิภา