คู่มือปฏิบัติงานด้านสุขภาพสัตว์ 

  1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม

โครงการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสที่มีค้างคาวเป็นพาหะ (ไวรัส 5 กลุ่ม; พารามิกโซไวรัส(โรคไข้สมองอักเสบนิปาห์) อินฟลูเอนซ่าไวรัส โคโรนาไวรัส ฟลาวิไวรัส และฟิโลไวรัส) ในสุกรในพื้นที่เสี่ยง ประจำปีงบประมาณ 2567

  1. รายละเอียดการดำเนินงาน

ดำเนินการเก็บตัวอย่างเลือด (Whole blood) สารคัดหลั่งทางจมูก (nasal swab) และสารคัดหลั่งทางทวาร (rectal swab) จากสุกรในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคไวรัสที่มีค้าวคาวเป็นพาหะ ได้แก่ พื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้สมองอักเสบนิปาห์ในสุกร (พื้นที่ปศุสัตว์เขต 8 และ 9) จังหวัดที่มีการเลี้ยงสุกรหนาแน่น (พื้นที่ปศุสัตว์เขต 2 และ 7) และจังหวัดที่มีอยู่ในแผนการดำเนินงานของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ซึ่งมีรายงานเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของค้างคาวแม่ไก่ (พื้นที่ปศุสัตว์เขต 1) และทำการบันทึกข้อมูลฟาร์มและประเมินความเสี่ยงฟาร์ม

  1. วิธีการเก็บตัวอย่าง/วิธีการเฝ้าระวัง
  2. สุ่มเลือกฟาร์มในพื้นที่อำเภอเป้าหมาย โดยสุ่มฟาร์มที่เคยประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้สมองอักเสบนิปาห์ในระกับสูงหรือปานกลางก่อน
  3. ทำการประเมินความเสี่ยงของฟาร์มสุกรต่อโรคไข้สมองอักเสบนิปาห์
  4. สุ่มเลือกสุกร จำนวน 10 ตัวต่อฟาร์ม และให้ดำเนินการเก็บตัวอย่าง 3 ชนิด ได้แก่

3.1 ตัวอย่างเลือด เก็บประมาณ 1-2 ซีซี ทำการแบ่งเลือดเป็น 2 ส่วน ใส่ในหลอด VTM และหลอด tirzal

3.2 ตัวอย่างสารคัดหลั่งทางจมูก (nasal swab) ให้ใช้ cotton bud 2 อัน เก็บตัวอย่างจากจมูก แล้วใส่ในหลอด VTM และหลอด tirzal จากนั้นหักปลายก้าน swab ที่เกินออก

3.3 ตัวอย่างสารคัดหลั่งทางทวาร (rectal swab) ให้ใช้ cotton bud 2 อัน เก็บตัวอย่างจากสารคัดหลั่งทางทวาร แล้วใส่ในหลอด VTM และหลอด tirzal จากนั้นหักปลายก้าน swab ที่เกินออก

  1. บันทึกหมายเลขตัวอย่าง และชื่อฟาร์มที่หลอดเก็บตัวอย่าง และบรรจุหลอดเก็บตัวอย่างในถุงพลาสติก 2 ชั้น เพื่อป้องกันน้ำ และแช่น้ำแข็ง
  2. ส่งตัวอย่างไปยังห้องปฏิบัติการ
  3. จำนวนตัวอย่าง/จำนวนการเฝ้าระวัง

กำหนดแผนในการเก็บตัวอย่างเฝ้าระวังโรคไวรัส 5 กลุ่มที่มีค้างคาวเป็นพาหะ ได้แก่ พารามิกโซไวรัส(โรคไข้สมองอักเสบนิปาห์) อินฟลูเอนซ่าไวรัส โคโรนาไวรัส ฟลาวิไวรัส และฟิโลไวรัส โดยเก็บตัวอย่าง จำนวน 1,000 ตัวอย่าง

  1. ระยะเวลา/รอบ การดำเนินงาน

มกราคม ถึง กันยายน 2567

  1. การรายงานผลการดำเนินงาน

สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ สรุปรวบรวมผลการตรวจวิเคราะห์ให้สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดและสำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.

  1. ผู้ประสานงาน สคบ. (ชื่อ, เบอร์)

นางสาว ธีรดา โควาวิเศษสุต

กลุ่มควบคุมป้องกันโรคสุกร สำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์

เบอร์ 026534444 ต่อ 4131