คู่มือปฏิบัติงานด้านสุขภาพสัตว์
- ชื่อโครงการ/กิจกรรม
โครงการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัสที่มีค้างคาวเป็นพาหะ (ไวรัส 5 กลุ่ม; พารามิกโซไวรัส(โรคไข้สมองอักเสบนิปาห์) อินฟลูเอนซ่าไวรัส โคโรนาไวรัส ฟลาวิไวรัส และฟิโลไวรัส) ในสุกรในพื้นที่เสี่ยง ประจำปีงบประมาณ 2567
- รายละเอียดการดำเนินงาน
ดำเนินการเก็บตัวอย่างเลือด (Whole blood) สารคัดหลั่งทางจมูก (nasal swab) และสารคัดหลั่งทางทวาร (rectal swab) จากสุกรในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการติดเชื้อโรคไวรัสที่มีค้าวคาวเป็นพาหะ ได้แก่ พื้นที่ที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้สมองอักเสบนิปาห์ในสุกร (พื้นที่ปศุสัตว์เขต 8 และ 9) จังหวัดที่มีการเลี้ยงสุกรหนาแน่น (พื้นที่ปศุสัตว์เขต 2 และ 7) และจังหวัดที่มีอยู่ในแผนการดำเนินงานของกรมอุทยานแห่งชาติสัตว์ป่าและพันธุ์พืช ซึ่งมีรายงานเป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของค้างคาวแม่ไก่ (พื้นที่ปศุสัตว์เขต 1) และทำการบันทึกข้อมูลฟาร์มและประเมินความเสี่ยงฟาร์ม
- วิธีการเก็บตัวอย่าง/วิธีการเฝ้าระวัง
- สุ่มเลือกฟาร์มในพื้นที่อำเภอเป้าหมาย โดยสุ่มฟาร์มที่เคยประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคไข้สมองอักเสบนิปาห์ในระกับสูงหรือปานกลางก่อน
- ทำการประเมินความเสี่ยงของฟาร์มสุกรต่อโรคไข้สมองอักเสบนิปาห์
- สุ่มเลือกสุกร จำนวน 10 ตัวต่อฟาร์ม และให้ดำเนินการเก็บตัวอย่าง 3 ชนิด ได้แก่
3.1 ตัวอย่างเลือด เก็บประมาณ 1-2 ซีซี ทำการแบ่งเลือดเป็น 2 ส่วน ใส่ในหลอด VTM และหลอด tirzal
3.2 ตัวอย่างสารคัดหลั่งทางจมูก (nasal swab) ให้ใช้ cotton bud 2 อัน เก็บตัวอย่างจากจมูก แล้วใส่ในหลอด VTM และหลอด tirzal จากนั้นหักปลายก้าน swab ที่เกินออก
3.3 ตัวอย่างสารคัดหลั่งทางทวาร (rectal swab) ให้ใช้ cotton bud 2 อัน เก็บตัวอย่างจากสารคัดหลั่งทางทวาร แล้วใส่ในหลอด VTM และหลอด tirzal จากนั้นหักปลายก้าน swab ที่เกินออก
- บันทึกหมายเลขตัวอย่าง และชื่อฟาร์มที่หลอดเก็บตัวอย่าง และบรรจุหลอดเก็บตัวอย่างในถุงพลาสติก 2 ชั้น เพื่อป้องกันน้ำ และแช่น้ำแข็ง
- ส่งตัวอย่างไปยังห้องปฏิบัติการ
- จำนวนตัวอย่าง/จำนวนการเฝ้าระวัง
กำหนดแผนในการเก็บตัวอย่างเฝ้าระวังโรคไวรัส 5 กลุ่มที่มีค้างคาวเป็นพาหะ ได้แก่ พารามิกโซไวรัส(โรคไข้สมองอักเสบนิปาห์) อินฟลูเอนซ่าไวรัส โคโรนาไวรัส ฟลาวิไวรัส และฟิโลไวรัส โดยเก็บตัวอย่าง จำนวน 1,000 ตัวอย่าง
- ระยะเวลา/รอบ การดำเนินงาน
มกราคม ถึง กันยายน 2567
- การรายงานผลการดำเนินงาน
สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ สรุปรวบรวมผลการตรวจวิเคราะห์ให้สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดและสำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
- ผู้ประสานงาน สคบ. (ชื่อ, เบอร์)
นางสาว ธีรดา โควาวิเศษสุต
กลุ่มควบคุมป้องกันโรคสุกร สำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์
เบอร์ 026534444 ต่อ 4131