ปศุสัตว์เร่งแก้ปัญหาต้นทุนอาหารสุกร แนะเลี้ยงในระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ พร้อมดูแลผู้เลี้ยงสุกรรายย่อย
วันพฤหัสบดีที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2565 เวลา 13.30 น. นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ มอบหมายให้ นายสัตวแพทย์บุญญกฤช ปิ่นประสงค์ ผู้อำนวยการสำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ เข้าร่วมพิธีลงนามบันทึกความเข้าใจร่วมมือทางวิชาการด้านการแก้ไขปัญหาโรคลัมปี สกิน ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมด้วย นายวิวัฒน์ ไชยชะอุ่ม ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ นสพ.ดร.วีรพงษ์ ธนพงศ์ธรรม ผู้เชี่ยวชาญด้านการควบคุมโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน (โรคพิษสุนัขบ้า) นางสาวเยาวนิตย์ บุรีรักษา เลขานุการกรม นายวรฉัตร วิรัชลาภ ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย ผู้แทนสำนักงานปศุสัตว์เขต 4 และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง ผ่านโปรแกรม Zoom Meeting ณ ห้องโคอุศุภราช ตึกอำนวยการ กรมปศุสัตว์
การลงนามความร่วมมือฯ ในครั้งนี้ มีที่มาจากการรายงานการพบโคเนื้อที่แสดงอาการของเชื้อไวรัสโรคลัมปี สกิน ปลายเดือนมีนาคม 2564 ที่ผ่านมา ซึ่งเป็นโรคที่ไม่เคยเกิดในประเทศไทยมาก่อน และปัจจุบันมีการแพร่กระจายในวงกว้างในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกฉียงเหนือ การแพร่กระจายของโรคลัมปี สกิน ไม่เพียงแต่ส่งผลให้สัตว์มีปัญหาด้านสุขภาพเท่านั้น แต่ยังส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในกลุ่มของเกษตรกรผู้เลี้ยงโค กระบือ กรมปศุสัตว์ และมหาวิทยาลัยขอนแก่น ได้เล็งเห็นความสำคัญของปัญหาดังกล่าว จึงเกิดความร่วมมือทางวิชาการด้านการแก้ไขปัญหาโรคลัมปี สกิน ในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยบูรณาการการทำงานร่วมกัน โดยการเข้าไปช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงโค กระบือ ในด้านการรักษา ดูแล ป้องกัน และถ่ายทอดองค์ความรู้และเทคโนโลยีต่างๆ เกี่ยวกับโรค ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
https://dcontrol.dld.go.th/webnew/index.php/en/news-menu/2018-08-01-04-31-09?start=135#sigFreeId66835fbc7e
ภาพ ฉัตรชัย นวลปลอด / ข่าว สลิลรัตน์ ชูโชติ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม
ที่มา : https://dld.go.th/th/index.php/th/newsflash/director-news/24480-mou-2
วันพุธที่ 29 ธันวาคม 2564 เวลา 09.30 น นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์มอบหมายให้ นายบุญญกฤช ปิ่นประสงค์ ผู้อำนวยการสำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ พร้อมด้วยนายพรพิรุณ ชินสอน ผู้อำนวยการกลุ่มควบคุมป้องกันโรคสัตว์เลี้ยง และนางสาวปิยนาถ เล็กเจริญสุข เข้าเยี่ยมคารวะพลตรีพนาเวศ จันทรังษี เจ้ากรมการสัตว์ทหารบก ที่กรมการสัตว์ทหารบก โดยนายบุญญกฤช ปิ่นประสงค์ ได้มอบของที่ระลึกจากกรมปศุสัตว์ให้กับเจ้ากรมการสัตว์ทหารบก และได้มีการหารือเกี่ยวกับแผนการเฝ้าระวังโรคและป้องกันการอุบัติซ้ำของกาฬโรคแอฟริกาในม้า และสัตว์สำหรับการเฝ้าระวังโรค (sentinel animals) โดยกรมปศุสัตว์ได้รับการสนับสนุนสัตว์สำหรับการเฝ้าระวังโรคจากกรมการสัตว์ทหารบกจำนวน 10 ตัว และได้รับความร่วมมือในการเฝ้าระวังกาฬโรคแอฟริกาในม้าเป็นอย่างดีเสมอมา และกรมปศุสัตว์ขอขอบคุณสำหรับความร่วมมือและการสนับสนุนต่างๆ จากกรมการสัตว์ทหารบก รวมทั้งหวังว่าจะได้รับความอนุเคราะห์เกี่ยวกับการเฝ้าระวังกาฬโรคแอฟริกาในม้าจากกรมการสัตว์ทหารบกในโอกาสต่อไป
นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ ในฐานะประธานคณะทำงานด้านวิชาการป้องกัน ควบคุม และกำจัดโรค ASF ในสุกร กล่าวว่า ตามที่มีการนำเสนอข่าวในสื่อสังคมออนไลน์เผยข้อมูลว่าพบรายงานสถานการณ์การเกิดโรค African Swine Fever หรือ ASF ในสุกร ท่านพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ให้ความสำคัญและห่วงใยในเรื่องดังกล่าวฯ ได้สั่งการเร่งด่วนให้กรมปศุสัตว์ดำเนินการเร่งตรวจสอบข้อเท็จจริงและรายงานโดยเร็ว ซึ่งจากประเด็นดังกล่าว กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการตรวจสอบไประยะหนึ่งแล้ว อย่างไรก็ตาม การดำเนินการตรวจสอบต้องเป็นไปตามหลักวิชาการและมาตรฐานสากลเพื่อได้ขั้นตอนครบถ้วนละเอียดรอบคอบ รอบด้าน เป็นไปตามข้อกฎหมายและระเบียบ เมื่อรวบรวม และตรวจสอบข้อมูลได้ครบถ้วน จะรายงานให้สาธารณชนทราบ ตามความเป็นจริง โดยจะไม่มีการปกปิดหรือปิดบังใดๆ โดยอธิบดีกรมปศุสัตว์ไม่ได้นิ่งนอนใจได้สั่งการด่วนจัดชุดเฉพาะกิจลงตรวจสอบสภาวะโรคในพื้นที่เสี่ยง สุ่มตรวจสอบเพิ่มเติมโดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการเลี้ยงสุกรหนาแน่น ในวันที่ 8-9 มกราคม 2565 รวมทั้งหมด 10 ฟาร์ม 305 ตัวอย่าง และ โรงฆ่าสัตว์ 2 แห่ง 4 ตัวอย่าง โดยในวันที่ 8 มกราคม 2565 สุ่มดำเนินการในพื้นที่จังหวัดราชบุรี เฝ้าระวังและเก็บตัวอย่างจำนวน 6 ฟาร์ม รวม 196 ตัวอย่าง และวันที่ 9 มกราคม 2565 สุ่มดำเนินการในพื้นที่จังหวัดนครปฐม เฝ้าระวังและเก็บตัวอย่างจำนวน 4 ฟาร์ม 109 ตัวอย่าง และ 2 โรงฆ่า 4 ตัวอย่าง รวม 113 ตัวอย่าง เพื่อเข้าไปสำรวจโรคและเก็บตัวอย่างจากเลือดสุกรที่ฟาร์ม (blood sampling) และจากบนพื้นผิวสัมผัสบริเวณโรงฆ่าสัตว์ (surface swab) นำไปตรวจหาโรคส่งวิเคราะห์ที่สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ ซึ่งเป็นห้องปฏิบัติการของกรมปศุสัตว์
ซึ่งผลการวิเคราะห์ตัวอย่างในเบื้องต้นจากจำนวนทั้งหมด 309 ตัวอย่าง พบผลวิเคราะห์เป็นลบจำนวน 308 ตัวอย่างและพบผลบวกเชื้อ ASF จำนวน 1 ตัวอย่างจากตัวอย่างพื้นผิวสัมผัสบริเวณโรงฆ่าสัตว์แห่งหนึ่งที่มาจากจังหวัดนครปฐม
ชุดเฉพาะกิจได้ลงพื้นที่เข้าสอบสวนโรคทางระบาดวิทยาถึงแหล่งที่มาของสุกรและสาเหตุเพื่อควบคุมโรคโดยเร็วต่อไป เพื่อลดผลกระทบต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรให้เกิดขึ้นน้อยที่สุด ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์ได้มีมาตรการในการดำเนินการในการเฝ้าระวัง ควบคุม และป้องกันการเกิดโรค ASF ร่วมกับภาคีเครือข่ายต่างๆ มาตั้งแต่ต้น โดยล่าสุดได้ประสานหารือและทำความเข้าใจกับหน่วยงานภาคีต่างๆ เช่น สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ภาคีคณบดี คณะสัตวแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย สัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มสุกร และหน่วยงานต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอความร่วมมือในการควบคุมโรคแล้ว ซึ่งหน่วยงานดังกล่าวได้ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี
อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับการดำเนินงานกรณีตรวจพบโรคในประเทศ กรมปศุสัตว์จะต้องดำเนินการประกาศเป็นเขตโรคระบาดและมีการควบคุมการเคลื่อนย้ายในรัศมี 5 กิโลเมตร รอบจุดที่พบโรค ร่วมกับจะต้องพิจารณาทำลายสุกรที่มีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรค หรือมีความเชื่อมโยงทางระบาดวิทยากับฟาร์มที่เป็นโรคและจ่ายค่าชดใช้ราคาสุกรที่ถูกทำลาย สำหรับการดำเนินงานในพื้นที่อื่นๆ ที่ไม่อยู่ในรัศมีการควบคุมโรคการเคลื่อนย้ายสุกรทุกวัตถุประสงค์จะต้องได้รับอนุญาตจากสัตวแพทย์ โดยคำนึงถึงเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรให้ได้รับผลกระทบน้อยที่สุด รวมทั้ง การขออนุญาตนำสุกรเข้ามาเลี้ยงต้องได้รับการอนุญาตจากเจ้าหน้าที่ ในขณะเดียวกันกรมปศุสัตว์จะต้องแจ้งการพบโรคไปยังองค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) เพื่อแจ้งเตือนให้ประเทศสมาชิกทราบ
ซึ่งล่าสุดได้มีการประชุมคณะกรรมการวิชาการป้องกันควบคุมโรค ASF แล้ว เพื่อทราบผลการตรวจพบเชื้อ ASF จาก 1 ตัวอย่างที่เก็บมาจากโรงฆ่าสัตว์แห่งหนึ่งในจังหวัดนครปฐม จากตัวอย่างทั้งหมดที่เก็บมา 309 ตัวอย่าง โดยยืนยันผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการของสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ ทั้งนี้ เพื่อประสิทธิภาพในการป้องกันและควบคุมโรคให้สงบโดยเร็ว กรมปศุสัตว์เห็นควรประกาศประเทศไทยพบโรค ASF และรายงานไป OIE ต่อไป
ท้ายที่สุดนี้ กรมปศุสัตว์ขอความร่วมมือพี่น้องเกษตรกรในการดำเนินการตามมาตรการควบคุมโรคของกรมปศุสัตว์โดยเคร่งครัด เพื่อควบคุมโรคให้สงบได้โดยเร็วเหมือนดังที่กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการควบคุมโรคอย่างเช่น โรคไข้หวัดนก และขอเรียนพี่น้องประชาชนให้ทราบว่าสุกรที่เป็นโรค ASF เป็นโรคที่ไม่ติดต่อสู่คนหรือสัตว์ชนิดอื่น ผู้บริโภคยังสามารถรับประทานเนื้อสุกรได้อย่างปลอดภัย โดยจะต้องให้ความร้อนปรุงสุกที่อุณหภูมิสูงกว่า 70 องศาเซลเซียส หากพี่น้องประชาชนมีข้อสงสัยหรือพบสุกรป่วยตายผิดปกติ หรือสัตว์ป่วยตายผิดปกติ หรือต้องการความช่วยเหลือจากกรมปศุสัตว์ สามารถแจ้งกรมปศุสัตว์ได้ที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอหรือสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดทั่วประเทศ หรือสายด่วนกรมปศุสัตว์ 063-225 -6888 หรือ Application DLD 4.0 ได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง
https://dcontrol.dld.go.th/webnew/index.php/en/news-menu/2018-08-01-04-31-09?start=135#sigFreeId465b207921
ภาพ ฉัตรชัย นวลปลอด กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการกรม / ข่าว ทีมโฆษกกรมปศุสัตว์
ที่มา : https://dld.go.th/th/index.php/th/newsflash/director-news/24472-asf
วันพฤหัสบดีที่ 9 ธันวาคม 2564 เวลา 13.30น นายธนา ชีรวินิจ เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้รับมอบหมายจาก ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ให้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการนโยบายพัฒนาสุกรและผลิตภัณฑ์ (Pig Board) พร้อมด้วยนายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์ รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการนี้นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ มอบหมายให้ นายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ โยธคล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ นายวิวัฒน์ ไชยชอุ่ม ผู้อำนวยการกองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์เข้าร่วมประชุม และผู้แทนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมประชุมผ่านระบบ Zoom Meeting
ทั้งนี้เพื่อทราบสถานการณ์การผลิตการตลาดสุกรในปัจจุบัน และเพื่อพิจารณาการพยากรณ์การผลิตสุกร ปี 2565 การกำหนดราคาเป้าหมายนำตามกรอบการขอใช้เงินกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกร ปี พ.ศ.2566 การคัดเลือกคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการนโยบายพัฒนาสุกร และผลิตภัณฑ์ และโครงการฟื้นฟูเยียวยาและปรับโครงสร้างการเลี้ยงสุกรของเกษตรกรรายกลางถึงรายย่อยทั้งประเทศเพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันแบบยั่งยืน โดยทางสภาเกษตรกรแห่งชาติ ได้เสนอโครงการฟื้นฟูเยียวยาและปรับโครงสร้างการเลี้ยงสุกรของเกษตรกรรายกลางถึงรายย่อยทั้งประเทศ เพื่อเพิ่มศักยภาพการแข่งขันแบบยั่งยืน ประกอบด้วย 3 มาตรการ คือ มาตรการเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการทัน มาตรการระยะปานกลาง ภายใน 3 ปี และมาตรการระยะยาว ภายใน 5 ปี นำส่งให้คณะกรรมการนโยบายพัฒนาสุกรและผลิตภัณฑ์ พิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อไป
ณ ห้องประชุม 134 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กรุงเทพฯ
ข่าว จิราภรณ์ เกตุบูรณะ / ภาพ ฉัตรชัย นวลปลอด กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักเลขานุการกรม
https://dcontrol.dld.go.th/webnew/index.php/en/news-menu/2018-08-01-04-31-09?start=135#sigFreeId95e19f9cea
ที่มา : https://dld.go.th/th/index.php/th/newsflash/director-news/24369-pig-board-2