สำนักข่าวในสเปนรายงานพบการตายของปศุสัตว์กว่า 1,000 ตัว และมีสัตว์ป่วยกว่า 10,000 ตัว จากโรคบลูทังค์ในเมือง Extremadura โดยเกษตรกรคาดการณ์ว่าความเสียหายที่เกิดขึ้นไม่ต่ำกว่า 16,000 ยูโรต่อฟาร์ม
ณ วันที่ 24 พย 2567
ผู้ป่วยเด็กติดเชื้อไข้หวัดนก H5N1 ในสหรัฐอเมริกาและสถานการณ์โรคในสหรัฐฯ และแคนาดา
สถานการณ์โรคในคน ประเทศสหรัฐอเมริกา
1. วันที่ 19 พย 67 ทางการสหรัฐยืนยันพบผู้ป่วยเด็กติดเชื้อไข้หวัดนก H5Nx ในเทศมณฑลแอลามีดา รัฐแคลิฟอร์เนีย ต่อมาวันที่ 23 พย 67 ยืนยันเป็น H5N1 ซึ่งเป็นผู้ป่วยเด็กรายแรกของประเทศที่ติดเชื้อไข้หวัดนก ยังไม่ทราบประวัติสัมผัสสัตว์แน่ชัด แต่สงสัยการสัมผัสกับนกป่า
2. การตรวจพบยืนยันครั้งนี้ เกิดจากการตรวจจับในระบบเฝ้าระวังไข้หวัดใหญ่ (flu surveillance) ของรัฐแคลิฟอร์เนีย
3. ปริมาณเชื้อที่ตรวจพบในเด็กอยู่ในระดับต่ำ และตรวจพบเชื้อไวรัสทางเดินหายใจชนิดอื่นร่วมด้วย ซึ่งเด็กมีอาการดีขึ้น ผู้สัมผัสในครอบครัวให้ผลเป็นลบต่อ H5 แต่ให้ผลบวกต่อเชื้อไวรัสทางเดินหายใจชนิดอื่น จึงยังไม่มีหลักฐานของการติดเชื้อจากคนสู่คน
4. ในขณะเดียวกันนั้น พบผู้ติดเชื้อ H5 เพิ่ม เป็นคนงานในฟาร์มโคนม ทำให้มีผู้ติดเชื้อในแคลิฟอร์เนียรวม 29 คน ซึ่งทั้งประเทศมีผู้ติดเชื้อตั้งแต่ต้นปีรวม 55 คน
สถานการณ์โรคในสัตว์ ประเทศสหรัฐอเมริกา
1. วันที่ 18 พย 67 ยืนยันพบการติดเชื้อ H5N1 clade 2.3.4.4b, genotype A3 ในฝูงสัตว์ปีกเลี้ยงหลังบ้านในรัฐฮาวาย มีกลุ่มเสี่ยง 54 คน และ 34 คนในกลุ่มนั้นมีความเสี่ยงสูง เนื่องจากสัมผัสเป็ดและห่านป่วยที่เลี้ยงหลังบ้านโดยไม่มีเครื่องป้องกัน แต่ยังไม่พบการติดเชื้อไข้หวัดนกในกลุ่มเสี่ยงดังกล่าว
2. ก่อนหน้าการตรวจพบเชื้อ H5N1 ในสัตว์ปีกที่รัฐฮาวาย มีการตรวจพบเชื้อไวรัส H5 ในการเฝ้าระวังเชื้อในระบบน้ำทิ้งของโรงงานแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ในสถานที่เดียวกับที่พบเชื้อในสัตว์ปีกที่เลี้ยงหลังบ้าน
3. เชื้อชนิด A3 genotype พบครั้งแรกในนกป่าในรัฐอลาสกา พ.ศ. 2565 จึงคาดการณ์ว่าการระบาดในรัฐฮาวายครั้งนี้มีความเชื่มโยงกับนกป่าอพยพ ซึ่งชนิดนี้แตกต่างจากที่พบในฟาร์มโคนมในสหรัฐฯ และที่พบในผู้ป่วยที่แคนาดา
4. ตั้งแต่ 1 พย.67 มีสัตว์ในกลุ่มปศุสัตว์ติดเชื้อไข้หวัดนก 172 ฝูง โดย 97% เป็นรายงานจากรัฐแคลิฟอร์เนีย และอีก 3% จากรัฐยูทาห์ โดยมีแนวโน้มสูงขึ้นกว่า 35% ในช่วงเวลาแค่ 2 สัปดาห์ที่รัฐแคลิฟอร์เนีย
5. รัฐเพนซิลเวเนียไม่พบวัวนมติดเชื้อเพิ่มเติม โดยมาตรการหลักที่ทางการดำเนินการคือ 1) สุ่มตรวจน้ำนมดิบก่อนเข้ากระบวนการผลิตที่โรงงาน 2) สุ่มเก็บตัวอย่างน้ำนมทุก 14 วัน ตามเส้นทางขนส่งน้ำนมไปยังโรงงานผลิต หากพบผลบวก จะมีการสอบทานกลับไปยังฟาร์มที่ตรวจพบและควบคุมโรค การดำเนินงานนี้มีแผนการขยายไปยังรัฐอาร์คันซอ แมสซาชูเซตส์ และโอคลาโฮม่า
6. ข้อมูลตั้งแต่วันที่ 1 พย. 67 พบการระบาดใหม่ในฝูงสัตว์ปีก 39 ครั้งใน 12 รัฐ พบทั้งในฟาร์มสัตว์ปีกเชิงพาณิชย์และเลี้ยงทั่วไป โดยพื้นที่ที่พบมักเกิดทางตะวันตกของประเทศ ซึ่งเป็นเส้นทางบินของนกป่า (Pacific Flyway)
7. ตั้งแต่เดือน พย. 67 มีการตรวจพบเชื้อ H5 ในนกป่า ใน 11 รัฐ จากข้อมูลการเกิดโรคในสัตว์ บ่งชี้ว่า มีการติดเชื้อไข้หวัดนกเพิ่มขึ้นในนกอพยพในเส้นทาง Pacific Flyway โดยพบ clade 2.3.4.4b ทีมีความหลากหลายของชนิดทั้ง B3.13, D1.1, D1.2, and A3
สถานการณ์โรคในคน ประเทศแคนาดา
1. จากที่พบผู้ป่วยยืนยันไข้หวัดนกในแคนาดาเมื่อสัปดาห์ก่อนนั้น ผลการตรวจเชื้อทางพันธุกรรม **บ่งชี้พบการกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัสที่มีผลต่อการติดโรคในคน โดย hemagglutinin protein ของเชื้อไวรัสนั้นสามารถปรับตัวในการเกาะติดกับตัวรับ (alpha 2-6) ในทางเดินหายใจส่วนบนของมนุษย์ได้ดีขึ้น** จึงอาจมีความเป็นไปได้ที่จะทำให้เกิดการติดต่อระหว่างคนสู่คน
2. ส่วนแหล่งของการติดเชื้อยังไม่ทราบแน่ชัด แต่สงสัยว่าติดเชื้อมาจากนกป่าที่เป็นเชื้อ variant genotype D1.1 คนละชนิดกับที่พบในวัวนมที่สหรัฐ (B3.13 genotype)
ข้อเสนอแนะการเฝ้าระวังโรคในไทย
1. อาการผู้ป่วยยืนยันที่ในทวีปอเมริกาเหนือนั้น ส่วนใหญ่แสดงอาการน้อย มีเยื่อบุตาขาวอักเสบ และตรวจจับได้จากระบบเฝ้าระวังโรคที่ดำเนินการอยู่ ดังนั้น ระะบเฝ้าระวังโรคทางห้องปฏิบัติการที่กรมควบคุมโรคดำเนินการร่วมกับกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และศูนย์ความร่วมมือไทย-สหรัฐด้านสาธารณสุข จำเป็นต้องแจ้งไปยังสถานพยาบาลในพื้นที่เฝ้าระวังให้เพิ่มความเข้มข้นในการซักประวัติสัมผัสสัตว์ พฤติกรรมเสี่ยง และการพบเห็นเหตุการณ์สัตว์ปีก รวมทั้งนกอพยพตายผิดปกติในพื้นที่ ให้มีการประสานงานแจ้งข่าวอย่างใกล้ชิดหน่วยงานเฝ้าระวัง
2. เพิ่มความสำคัญของการเฝ้าระวังเชื้อในระดับพันธุกรรม (genomic surveillance) ในคน สัตว์ และนกป่า
3. เสนอกรมปศุสัตว์ในการยกระดับความปลอดภัยทางชีวภาพ (biosecurity) โดยเฉพาะในกลุ่มกษตรกรเลี้ยงสัตว์ปีกหลังบ้าน ตามมาตรการและคำแนะนำของทางกรมปศุสัตว์
4. กรมควบคุมโรค กรมปศุสัตว์ รวมทั้งหน่วยงานมหาวิทยาลัย พิจารณาดำเนินการเฝ้าระวังเชิงรุกในระบบน้ำทิ้ง ของเสีย เพื่อตรวจจับเชื้อโรคที่อาจทำให้เกิดการระบาดตั้งแต่ระยะต้น โดยใช้ข้อสังเกตจากการเฝ้าระวังน้ำทิ้งในฮาวาย หรือจากการเฝ้าระวังในน้ำนมในกระบวนการผลิตของสกรัฐฯ ซึ่งเป็นการดำเนินงานภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว