คู่มือปฏิบัติงานด้านสุขภาพสัตว์
- ชื่อโครงการ/กิจกรรม
โครงการแผนการเฝ้าระวังทางห้องปฏิบัติการของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ประจำปีงบประมาณ 2567
- รายละเอียดการดำเนินงาน
แบ่งเป็น 2 กิจกรรมย่อย
- เฝ้าระวังป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ในโรงฆ่าสัตว์
- เฝ้าระวังป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ในฟาร์มรายย่อยและรายเล็กที่มีความเสี่ยง
ใช้ประกอบการประเมินตัวชี้วัดด้านสุขภาพสัตว์ และ e operation
- วิธีการเก็บตัวอย่าง/วิธีการเฝ้าระวัง
- เฝ้าระวังป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ในโรงฆ่าสัตว์
- เก็บตัวอย่างสวอป 5 จุด ในไลน์ผลิต รวมเป็น 1 ตัวอย่างต่อโรงฆ่า
- เฝ้าระวังป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ในฟาร์มรายย่อยและรายเล็กที่มีความเสี่ยง
- จำนวนฟาร์มที่ต้องเก็บขึ้นกับความเสี่ยงในแต่ละอำเภอ โดยเก็บฟาร์มสุกรที่มีการลงเลี้ยงใหม่ก่อนเป็นอันดับแรก
- กรณียังไม่มีสุกรเก็บตัวอย่างสวอป 5 จุดในโรงเรือน
- กรณีมีสุกรที่เข้าทดลองเลี้ยงเก็บตัวอย่างเลือดหรือน้ำลายของสุกรเข้าทดลองเลี้ยง 5 ตัวอย่าง (จากสุกรมีชีวิต 5 ตัว) โดยเก็บหลัง 6 สัปดาห์นับจากวันที่นำสุกรเข้าฟาร์ม
- รวมตัวอย่างเป็น 1 ตัวอย่างต่อฟาร์ม
*ทุกตัวอย่างที่เก็บขอให้ระบุตำแหน่งที่เก็บ และไม่ต้องรวมตัวอย่าง ทาง lab จะเป็นผู้รวมตัวอย่างเอง
- จำนวนตัวอย่าง/จำนวนการเฝ้าระวัง
ในโรงฆ่าสัตว์: เก็บทุกเดือน เป้าหมายคือ 50 เปอร์เซ็นต์ของโรงฆ่าในจังหวัด โดยพิจารณาเก็บโรงฆ่าที่มีความ ต้องการในการเคลื่อนย้ายก่อน
ในฟาร์มรายย่อยและรายเล็ก: เก็บทุกเดือนตามความเสี่ยงของการเกิดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรแบ่งความเสี่ยงเป็นระดับอำเภอ
*จำนวนตัวอย่างที่แต่ละจังหวัดต้องเก็บสามารถดูได้จากในเอกสารแนบ
- ระยะเวลา/รอบ การดำเนินงาน
มกราคม 2567-กันยายน 2567
- การรายงานผลการดำเนินงาน
สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ สรุปรวบรวมผลการตรวจวิเคราะห์ให้สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดและสำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ ทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it. และให้ทางจังหวัดรายงานผ่าน google form
- ผู้ประสานงาน สคบ. (ชื่อ, เบอร์)
นางสาวอริสรา ชูเชิญ
กลุ่มควบคุมป้องกันโรคสุกร สำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์
เบอร์ 026534444 ต่อ 4131