คู่มือปฏิบัติงานด้านสุขภาพสัตว์
1. ชื่อโครงการ/กิจกรรม
โครงการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดนกในนกธรรมชาติ
2. รายละเอียดการดำเนินงาน
2.1 เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช มหาวิทยาลัยและหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ ดำเนินการเฝ้าระวังโรคในนกธรรมชาติในบริเวณพื้นที่เป้าหมาย โดยดำเนินการเฝ้าระวังโรคตลอดทั้งปี และเพิ่มความถี่ในการเฝ้าระวังโรคในช่วงเดือนที่นกอพยพเข้ามาในประเทศไทย (ตุลาคม – มีนาคม)
2.2 พื้นที่เป้าหมายทั้งประเทศ
1) พื้นที่อยู่อาศัยหรือทำรังอยู่เป็นกลุ่ม (Colony)
พื้นที่ทำรังอยู่อาศัยเป็นกลุ่มของน้ำนก เช่น นกปากห่าง นกยางและนกกาน้ำ เป็นต้น
2) พื้นที่ชุ่มน้ำ (wetland)
พื้นที่ชุ่มน้ำ หมายถึง ลักษณะทางภูมิประเทศที่มีรูปแบบเป็น พื้นที่ลุ่ม พื้นที่ราบลุ่ม พื้นที่ลุ่มชื้นแฉะ พื้นที่ฉ่ำน้ำ มีน้ำท่วม มีน้ำขัง พื้นที่พรุ พื้นที่แหล่งน้ำ ทั้งที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติและที่มนุษย์สร้างขึ้น ทั้งที่มีน้ำขังหรือท่วมอยู่ถาวร และชั่วครั้งชั่วคราว ทั้งที่เป็นแหล่งน้ำนิ่งและน้ำทั้งที่เป็นน้ำจืด น้ำกร่อย และน้ำเค็ม รวมไปถึงพื้นที่ชายฝั่งทะเล และพื้นที่ของทะเล ในบริเวณซึ่งเมื่อน้ำลดลงต่ำสุดมีความลึกของระดับน้ำไม่เกิน 6 เมตร ได้แก่ ทุ่งนา หนอง บึง และนาเกลือ
3) สถานที่พักฟื้นนกก่อนปล่อยสู่ธรรมชาติ
4) พื้นที่เป้าหมายในการเฝ้าระวังโรคเชิงรุก
พื้นที่จุดแวะพักในระหว่างการอพยพของนกธรรมชาติ
5) พื้นที่อื่นๆ เช่น พื้นที่สาธารณะและพื้นที่ส่วนบุคคล ที่ประชาชนทั่วไปแจ้งพบนกตายผิดปกติ
2.3 ชนิดนกเป้าหมาย
นกน้ำที่พบได้บ่อย ได้แก่ กลุ่มนกเป็ดหรือห่าน (Order Anseriformes) กลุ่มนกยาง (Order Pelecaniformes); กลุ่มนกกระสาและนกปากห่าง (Order Ciconiiformes) กลุ่มนกอัญชันและนกคู้ต (Order Gruiformes) และกลุ่มนกนางนวล นกชายเลน (Order Charadriiformes) และกลุ่มนกล่าเหยื่อ หรือนกชนิดอื่นๆ
2.4 การเฝ้าระวังโรคเชิงรับในนกธรรมชาติ
1) พบนกในกลุ่มเป้าหมายตาย
2) การพบนกตายแบบกลุ่มหรือจำนวนมาก (mass mortality) ในสถานที่และเวลาใกล้เคียงกัน มีนิยามดังนี้
พบนกตาย ≥ 1 ตัว ในกลุ่มนกล่าเหยื่อ เช่น เหยี่ยว, นกน้ำ เช่น นกปากห่าง นกยาง นกเป็ด เป็นต้น
พบนกตาย ≥ 5 ตัว โดยเป็นนกชนิดใดก็ได้
2.5 การเฝ้าระวังโรคเชิงรุกในนกธรรมชาติ
โดยการเฝ้าระวังโรคในนกชนิดเป้าหมายสุขภาพดีร่วมกับเจ้าหน้าที่กรมอุทยานฯ หรือเก็บ swab มูลนกชนิดเป้าหมาย
3. วิธีการเก็บตัวอย่าง/วิธีการเฝ้าระวัง
3.1 กรณีที่พบนกตาย เก็บซากนกส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ หรือเก็บตัวอย่างด้วยวิธี oropharyngeal swab และ cloacal swab โดยการรวมในหลอดเก็บตัวอย่างเดียวกันในนกแต่ละตัว
3.2 ในกรณีที่พบนกป่วย นกบาดเจ็บ และการเก็บตัวอย่างจากนกปกติจากการเฝ้าระวังโรคเชิงรุก เก็บตัวอย่างด้วยวิธี oropharyngeal swab และ cloacal swab โดยการรวมในหลอดเก็บตัวอย่างเดียวกันในนกแต่ละตัว
3.3 เก็บข้อมูล วันที่เก็บตัวอย่าง สถานที่เก็บตัวอย่าง (พิกัด) ชนิดนก (ระบุชื่อวิทยาศาสตร์) ประเภทตัวอย่าง และชนิดตัวอย่าง และส่งตัวอย่างไปยังห้องปฏิบัติการในพื้นที่โดยเร็วที่สุด
3.4 ในกรณีที่พบนกตายแบบกลุ่มหรือจำนวนมาก (mass mortality) ในสถานที่และเวลาใกล้เคียงกัน เก็บตัวอย่างซากอย่างน้อย 5 ตัว ส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการและรายงานข้อมูลสถานที่ (พิกัด) ระบุจำนวนนกและชนิดนกที่ป่วยตายในบริเวณนั้น อัตราการป่วยตาย อาการป่วยที่พบ พร้อมทั้งโทรแจ้งข้อมูลการพบมายังกลุ่มควบคุมป้องกันโรคสัตว์ปีกทันที (02-653-4444 ต่อ 4162) และส่งเอกสารทาง This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
4. จำนวนตัวอย่าง/จำนวนการเฝ้าระวังฃ
สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเก็บตัวอย่างเฝ้าระวังโรคอย่างน้อยเดือนละ 1 ตัวอย่าง
5. ระยะเวลา/รอบ การดำเนินงาน
ตุลาคม 2566 - กันยายน 2566
6. การรายงานผลการดำเนินงาน
6.1 สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดกรอกข้อมูลการเก็บตัวอย่างให้ครบถ้วนและรายงานข้อมูลใน google form https://forms.gle/zSWqH6bh9gfCdxQj9 และส่งเอกสารทาง This email address is being protected from spambots. You need JavaScript enabled to view it.
6.2 การบันทึกข้อมูลในระบบบริหารจัดการห้องปฏิบัติการ LIMS เลือกชนิดสัตว์ à นกธรรมชาติ, กลุ่มเลือกà ชนิดนก (species) ประเภทการทดสอบเลือกโครงการ E0101 เฝ้าระวังเชิงรับ โรคไข้หวัดนกในนกธรรมชาติและนกอพยพ หรือ E0102 เฝ้าระวังเชิงรุก โรคไข้หวัดนกในนกธรรมชาติและนกอพยพ
6.3 ห้องปฏิบัติการเป็นผู้ตรวจตัวอย่างหาโรคไข้หวัดนกและนิวคาสเซิล รายงานผลการตรวจให้กับปศุสัตว์จังหวัดและรายงานผลการตรวจในรูปแบบ Spread Sheet ส่งให้สำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ เพื่อสรุปผลภาพรวมทั้งประเทศ
7. ผู้ประสานงาน สคบ. (ชื่อเบอร์)
น.ส.วรธิดา แสงรัตน์, น.ส.ชนิศรา สุนทร 02-653-4444 ต่อ 4162