ปศุสัตว์ไทย-ลาว ร่วมประชุมเตรียมความพร้อมด้านการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคไข้หวัดนก
https://dcontrol.dld.go.th/webnew/index.php/th/news-menu/2018-08-01-04-31-09?start=25#sigFreeId7308f8a63d
วันที่ 14 กรกฎาคม 2566 นายสัตวแพทย์ณรงค์ เลี้ยงเจริญ ผู้อำนวยการสำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ เปิดกิจกรรมBig Cleaning Day พร้อมด้วย ข้าราชการ พนักงานราชการ และเจ้าหน้าที่สำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ ณ หน้าลิฟท์ชั้น 4 ตึกวิจิตรพาหนการ กรมปศุสัตว์
วีดีโอนำเสนอกิจกรรม5สของสำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์
ภาพ/ข่าว : กลุ่มพัฒนาระบบสุขภาพสัตว์ สำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์
วันที่ 13 กรกฎาคม 2566 เวลา 09.30 น. นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ ได้มอบหมายให้นายสัตวแพทย์บุญญกฤช ปิ่นประสงค์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานการประชุม คณะกรรมการแก้ไขปัญหาโรคลัมปี สกิน (Lumpy skin disease) ครั้งที่ 1/2566
โดยมีนายกสมาคมโคเนื้อแห่งประเทศไทย และอาจารย์จากมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมประชุมด้วย
โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อหารือแนวทางการใช้วัคซีนในการป้องกันและควบคุมโรคที่เหมาะสมและเกิดประสิทธิภาพสูงสุด พิจารณากลุ่มสัตว์ที่ต้องได้รับวัคซีน พื้นที่ที่ต้องฉีดวัคซีน และช่วงเวลาในการฉีดวัคซีนที่เหมาะสม ตลอดจนแนวทางการควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์ทั้งภายในประเทศและนำเข้าส่งออกตามแนวชายแดนอีกด้วย
ณ ห้องประชุมชัยอัศวรักษ์ ตึกชัยอัศวรักษ์ ชั้น 2 กรมปศุสัตว์ พญาไท
#ครอบครัวปศุสัตว์ #ทำด้วยใจ #ทำได้ไว #ทำได้จริง
ภาพ/ข่าว : สำนักงานเลขานุการกรม กรมปศุสัตว์
ที่มา : https://dld.go.th/th/index.php/th/newsflash/director-news/26524-lumpy-skin-disease-1-2566
วันจันทร์ที่ 17 กรกฎาคม 2566 นายสัตวแพทย์บุญญกฤช ปิ่นประสงค์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานเปิดและวิทยากร โครงการประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการ “การบูรณาการงานกฎหมาย ด้านสุขภาพสัตว์ของกรมปศุสัตว์ ปีงบประมาณ พ.ศ.2566” ที่จัดขึ้นระหว่างวันที่ 17-19 กรกฎาคม 2566 ณ โรงแรมอีโค่ โคซี่ บีชฟร้อนท์ รีสอร์ท จังหวัดเพชรบุรี โดยได้รับความอนุเคราะห์จาก นายอนุชา แสนบุดดา อัยการประจำกอง สำนักงานอัยการพิเศษ ฝ่ายคดี อาญา 1 สำนักงานอัยการสูงสุด
พร้อมทั้งมีนายณรงค์ เลี้ยงเจริญ ผู้อำนวยการสำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรค นายยุษฐิระ บัณฑุกุล ปศุสัตว์เขต 7 นายอิสสระ ปัญญาวรรณ ผู้อำนวยการสำนักกฎหมาย นายสัตวแพทย์กรรัตน์ คุ้มกระ ปศุสัตว์จังหวัดเพชรบุรี และ นายสัตวแพทย์ นิติกร จากกอง/ สำนักที่เกี่ยวข้องและผู้แทนจากสำนักงานปศุสัตว์เขต 1-9 เข้าร่วมกว่า 90 คน เข้าร่วมประชุม
การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อระดมความคิดเห็นในการพัฒนา แก้ไขปรับปรุงพระราชบัญญัติในอำนาจหน้าที่ของกรมปศุสัตว์ ได้แก่ พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 พระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ. 2558 พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 พระราชบัญญัติ สถานพยาบาลสัตว์ พ.ศ. 2533 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติสถานพยาบาลสัตว์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2557 พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจําหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2559 และพระราชบัญญัติโรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535 เพื่อวางแนวทางพัฒนาปรับปรุงแก้ไขกฎหมายนำไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมกันนี้ยังมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างความรู้ความเข้าใจด้านกฎหมายแก่เจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้องและนิติกรที่ปฏิบัติงานในส่วนงานอื่นๆ ที่สังกัดกรมปศุสัตว์ พร้อมรับฟังความคิดเห็นประเด็น ปัญหา พร้อมเหตุการณ์ตัวอย่างนำไปวิเคราะห์ประกอบกับข้อกฎหมายต่างๆ ปรับปรุง พัฒนากฎหมายให้เป็นปัจจุบัน เพื่อให้การปฏิบัติงานมีประสิทธิภาพ อันจะส่งผลแก่ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ได้รับผลกระทบจากกฎหมายที่กรมปศุสัตว์ดูแลได้รับความเป็นธรรม และก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดแก่ ประชาชน เกษตรกร และภาคเอกชนต่าง ๆ ต่อไป
#ครอบปศุสัตว์ #ทำด้วยใจ #ทำได้ไว #ทำได้จริง
ภาพ/ข่าว : สำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์
วันที่ 10 กรกฎาคม 2566 เวลา 10.00 น. นายสมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานการประชุม โดยมีนายบุญญกฤช ปิ่นประสงค์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ และกองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ (กสส.) สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ (สอส.) สำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ (สคบ.) กองสารวัตรและกักกัน (กสก.) สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ (สพส.) เข้าร่วมประชุม พร้อมด้วยผู้แทนจากสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ผู้แทนเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรระดับภาค สหกรณ์ผู้เลี้ยงสุกร และเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร และผู้เกี่ยวข้องเข้าร่วมการประชุม
หลังจากที่กรมปศุสัตว์ได้รับฟังปัญหาที่เกิดจากผู้แทนเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรในภาคส่วนต่างๆ แล้ว กรมปศุสัตว์จึงได้เสนอแนวทางในการช่วยเหลือเกษตรกรผ่าน “โครงการรักษาเสถียรภาพราคาสุกร” โดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ (ระยะสั้น/ระยะกลาง/ระยะยาว) โดยในรายละเอียดโครงการจะยึดโยงตามปัญหาที่เกิดขึ้นจริงตามที่ผู้แทนในภาคส่วนต่างๆ เสนอ โดยสรุปได้เป็น 6 ประเด็นดังนี้
1. การปราบปรามหมูเถื่อนที่ยังตกค้างในประเทศ และยกเลิกการนำเข้าชิ้นส่วนเนื้อสุกรทุกประเภท
2. การขึ้นทะเบียนผู้ประกอบการค้าสุกร (Broker)
3. การขึ้นทะเบียนผู้เลี้ยงสุกรทั่วประเทศรวมทั้งปริมาณแม่พันธุ์ และสุกรขุนที่เพิ่มขึ้นของผู้เลี้ยงในประเทศ
4. กำหนดยุทธศาสตร์การผลิตสุกรขุนให้สอดคล้องกับการบริโภคภายในประเทศ
5. ส่งเสริมการส่งออกสุกรมีชีวิตและเนื้อสุกรที่ได้มาตรฐาน เพื่อลดสุกรส่วนเกินในประเทศ
6. หารือร่วมกับคณะกรรมการนโยบายพัฒนาสุกรและผลิตภัณฑ์ (pig board) เพื่อร่วมมือแก้ปัญหาและบริหารความเสี่ยงในอนาคต
ที่ประชุมได้เห็นชอบในหลักการของ “โครงการรักษาเสถียรภาพราคาสุกร” ตามที่กรมปศุสัตว์เสนอ หลังจากนี้กรมปศุสัตว์จะได้ดำเนินการจัดความสำคัญในแต่ละประเด็น และเพิ่มเติมในรายละเอียดโครงการซึ่งต้องอาศัยความมีส่วนร่วมของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ผู้ประกอบการ สมาคม สหกรณ์ และเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร ในการให้ข้อมูลต่างๆ กองนำเสนอต่อที่ประชุม pig board เพื่อพิจารณาเห็นชอบในหลักการ และผลักดันให้เกิดการดำเนินงานอย่างเป็นรูปธรรม ต่อไป
ณ ห้องประชุมพุทธอุดมสุข ชั้น 2 ตึกอำนวยการ กรมปศุสัตว์ และและประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ระบบ ZOOM
ภาพ/ข่าว : สำนักเลขานุการกรม กรมปศุสัตว์
ที่มา : https://dld.go.th/th/index.php/th/newsflash/director-news/26506-2023-07-10-06-38-59