กรมปศุสัตว์รับการตรวจประเมินรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 4.0 ประจำปี พ.ศ. 2564
https://dcontrol.dld.go.th/webnew/index.php/th/news-menu/2018-08-01-04-31-09?start=150#sigFreeId8f9518b560
อธิบดีกรมปศุสัตว์เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาโรคลัมปี สกิน เพือติดตามสถานการณ์ กำชับนโยบายการควบคุมป้องกัน และกำหนดแนวทางการใช้วัคซีนตามหลักวิชาการ
เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2564 นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ได้เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาโรคลัมปี สกิน (Lumpy Skin Disease) ครั้งที่ 1/2564 ซึ่งคณะกรรมการนี้ประกอบด้วยทุกภาคส่วนจากภาครัฐและเอกชน คณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิจากสถาบันอุดมศึกษา องค์กรวิชาชีพ และเกษตรกร ร่วมประชุม เพื่อติดตามสถานการณ์ และแนวทางการเฝ้าระวัง ป้องกัน และควบคุมโรค และกำหนดแนวทางการใช้วัคซีน และได้ชี้แจงกรณีที่มีข่าวเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชนว่า กรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมการระบาดของโรคลัมปี สกิน ในโคกระบือของเกษตรกรนั้น ต้องขอชี้แจงว่า เป็นข้อมูลที่คลาดเคลื่อนจากข้อเท็จจริงทั้งหมด เพราะตั้งแต่พบว่า โคเนื้อของเกษตรกรที่ อ.พนมไพร จ.ร้อยเอ็ด มีอาการป่วยคล้ายกับโรคลัมปี สกิน กรมปศุสัตว์ได้ลงพื้นที่ พร้อมเก็บตัวอย่างมาตรวจสอบในห้องปฏิบัติการจนมีผลยืนยันในช่วงปลายเดือนมีนาคมว่าโคป่วยด้วย โรคลัมปี สกินจริง ช่วงรอผลตรวจสอบทางห้องปฏิบัติการนั้นได้มีการดำเนินมาตรการต่างๆ เพื่อควบคุมและแก้ไข เข้มงวดการเฝ้าระวัง และมาตรการป้องกันและควบคุมโรค กรณีสงสยโรคลัมปี สกิน เป็นต้น โดยในการดำเนินการนั้นได้รายงานให้ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายประภัตร โพธสุธนรัฐมนตรีช่วยว่าการ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ซึ่งมีความห่วงใยและติดตามสถานการณ์รับทราบอย่างต่อเนื่อง โดยล่าสุดจากการประชุม คณะกรรมการบริหารการขับเคลื่อนงานนโยบายสำคัญและการแก้ไขปัญหาภาคเกษตร ครั้งที่ 4/2564 เมื่อวันที่ 24 พ.ค. 2564 ที่ผ่านมาที่มี ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีวาการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธาน ได้มีข้อสั่งการให้ กรมปศุสัตว์เร่งควบคุมต้นตอของการระบาดของโรคลัมปี สกิน โดยให้เข้มงวดเรื่องการเคลื่อนย้ายสัตว์ โดยเฉพาะการลักลอบเคลื่อนย้ายสัตว์ตามแนวชายแดนทุกแห่ง ดังนั้นหากพบผู้กระทำผิดให้ดำเนินการทางกฎหมายอย่างเคร่งครัด แต่หากปล่อยปละละเลยให้มีการลักลอบเคลื่อนย้าย และเกิดการแพร่ระบาดของโรคเพิ่มขึ้น จะดำเนินการทางวินัยโดยเด็ดขาด
ทั้งนี้ อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวเพิ่มเติมว่า พร้อมกันนี้ได้มีการตั้งคณะกรรมการอำนวยการ และคณะทำงานศูนย์ปฏิบัติการป้องกัน ควบคุม และเตรียมความพร้อมเผชิญเหตุโรคลัมปี สกิน หรือ War room เพื่อทำหน้าที่ติดตาม สถานการณ์โรคระบาด วางแผนมาตรการควบคุมโรค วางแผนการกระจายวัคซีน การป้องกันกำจัดโรค ตลอดจนมาตรการชดเชยเยียวยาเกษตรกรตามมาตรการการช่วยเหลือ และขอขอบคุณองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นหลายท้องถิ่นที่ช่วยดำเนินการฉีดพ่นสารเคมีควบคุมแมลงดูดเลือดซึ่งเป็นพาหนะของโรคลัมปี สกิน
"ส่วนกรณีของวัคซีน ด้วยโรคลมปี สกิน เป็นโรคอุบัติใหม่ที่เพิ่งเกิดขึ้นในประเทศไทย จึงยังไม่เคยมีการใช้ วัคซีนในสัตว์สำหรับควบคุมและป้องกันโรคในประเทศมาก่อน ขณะนี้กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการสั่งซื้อวัคซีนจากประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งมีแหล่งผลิตในประเทศแอฟริกาใต้ รวม 60,000 โดส และขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการประสานงานจัดส่งวัคซีน หลังจากวัคซีนเข้ามาถึงประเทศไทยแล้ว จะต้องดำเนินการขอหนังสือรับรองรุ่นการผลิต จากสำนักงานคณะกรรมการอาหาร และยา จึงจะสามารถนำมาใช้ได้อย่างถูกต้องตามกฎหมาย นอกจากนี้ กรมปศุสัตว์กำลังดำเนินการจัดหาวัคซีนเพิ่มเติมอีก ประมาณ 300,000 โดส เพื่อการควบคุมโรคและเพื่อความมั่นคงด้านวัคซีนของประเทศไทย”
สถานการณ์การเกิดโรคล่าสุด ปัจจุบันพบใน 35 จังหวัด มีสัตว์ป่วย จำนวน 7,200 ตัว ตาย 53 ตัว และที่สำคัญสามารถควบคุมการระบาดให้อยู่ในวงจำกัด โดยตั้งแต่วันที่ 20 พ.ค.เป็นต้นมา ยังไม่มีรายงานการกระจายหรือการระบาดเพิ่มในจังหวัดใหม่ ดังนั้น ขอฝากถึงเกษตรกร หากมีข้อสงสัย หรือต้องการได้รับความช่วยเหลือ สามารถติดต่อได้ที่ สำนักควบคุมป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ (สคบ.) หรือสายด่วนแจ้งโรคระบาดกรมปศุสัตว์ call center 063-225-6888 หรือแจ้ง ผ่านแอปพลิเคชั่น DLD4.0 “แจ้งการเกิดโรคระบาด” ได้ตลอดเวลา และสามารถติดตามองค์ความรู้ต่าง ๆ ที่เกี่ยวของ ได้ที่ เว็บไซต์ https://sites.google.com/view/dldlsd/home
https://dcontrol.dld.go.th/webnew/index.php/th/news-menu/2018-08-01-04-31-09?start=150#sigFreeId1529147f1c
ที่มา : ทีมโฆษกกรมปศุสัตว์ (25 พ.ค 2564) ข่าวปศุสัตว์
https://dcontrol.dld.go.th/webnew/index.php/th/news-menu/2018-08-01-04-31-09?start=150#sigFreeId49745556fd
ที่มา : สำนักควบคุม ปเองกัน และบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์
วันที่20พ.ค.2564 นายจรูญ ชูเกียรติวัฒนา ปศุสัตว์จังหวัดลพบุรี ได้ประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนและให้ความรู้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมโดยการประชุมออนไลน์ผ่านWeb Conference ไปยังสหกรณ์และศูนย์รับน้ำนมดิบทั้ง14แห่งในจังหวัดลพบุรีเพื่อชี้แจงแนวทางการป้องกันและควบคุมโรค”ลัมปี สกิน”ในโคนม
โรคลัมปี สกิน มีสาเหตุเกิดจากเชื้อไวรัส เป็นโรคที่เกิดเฉพาะในโค กระบือไม่เป็นโรคที่ติดต่อจากสัตว์สู่คน โดยเชื้อไวรัสชนิดนี้ก่อโรคตามอวัยวะที่มีเซลล์เยื่อบุ มีลักษณะอาการที่สังเกตได้คือ พบตุ่มเนื้อบนผิวหนังและเยื่อเมือกทั่วร่างกาย ซึ่งต่อมาจะตกสะเก็ดและเป็นแผลหลุม สัตว์อาจมีไข้และหายใจลำบากร่วมด้วย โดยในโคนมอาจพบนำ้นมลดลง25-65เปอร์เซนต์ โรคนี้มีแมลงดูดเลือด เช่น เห็บ แมลงวันดูดเลือดและยุงเป็นพาหะที่สำคัญในการแพร่กระจายเชื้อนอกจากนี้ยังสามารถติดต่อได้ผ่านการสัมผัสสัตว์ป่วยโดยตรง ผ่านทางนำ้เชื้อหรือผ่านทางรกได้ในปัจจุบันมีการรายงานการเกิดโรคนี้ในหลายจังหวัดของประเทศไทย ดังนั้นจังหวัดลพบุรีจึงยกระดับการป้องกันโรค“ลัมปี สกิน” โดยดำเนินการตามมาตรการควบคุมและป้องกันโรคของกรมปศุสัตว์อย่างเข้มงวด โดยเน้นการดำเนินการใน5มาตรการหลักที่สำคัญ 1.เร่งดำเนินการประชาสัมพันธ์เกษตรกรให้รับรู้ลักษณะของโรคและสถานการณ์การระบาดของโรค 2.เข้มงวดการควบคุมการเคลื่อนย้ายสัตว์โดยเฉพาะในพื้นที่เสี่ยง 3.เน้นขอความร่วมมือจากพ่อค้าสัตว์ เกษตรกรงดการซื้อขายโค-กระบือ ที่มาจากเเหล่งที่เกิดโรคหรือจากพื้นที่ในรัศมี50กม.รอบจุดเกิดโรค 4.สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดลพบุรีระดมกำลังเจ้าหน้าที่ร่วมบูรณาการกับสำนักงานปศุสัตว์อำเภอทั้ง11อำเภอของจังหวัดลพบุรี, ด่านกักกันสัตว์ลพบุรี สหกรณ์/ศูนย์รับน้ำนมดิบทุกแห่งในจังหวัด, หน่วยHHU ,ท้องถิ่นฯลฯ ออกปฏิบัติงานป้องกันและควบคุมแมลงพาหะนำโรค โดยใช้สารกำจัดแมลง โดยการจัดหน่วยบริการเคลื่อนที่เข้าไปดำเนินการฉีดพ่นสารกำจัดแมลงซึ่งเป็นพาหะของโรคบริเวณคอกสัตว์ แนะนำเกษตรกรปรับภูมิทัศน์โดยรอบฟาร์มให้โปร่งโล่งไม่เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของแมลงพาหะรวมถึงกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในพื้นที่โดยรอบ กำจัดมูลสัตว์ออกจากฟาร์มเป็นประจำหรือใช้ผ้าคลุมเพื่อป้องกันแมลงมาวางไข่ รวมทั้งกางมุ้งให้แก่สัตว์เพื่อป้องกันแมลงดูดเลือด 5.จัดตั้งเครือข่ายเฝ้าระวัง ค้นหาโรค หากตรวจพบฟาร์มที่สงสัย ให้แจ้งเจ้าหน้าที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอในท้องที่หรือสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดลพบุรีในทันทีเพื่อจะได้ควบคุมโรคไม่ให้ลุกลามและแพร่กระจายออกไป
https://dcontrol.dld.go.th/webnew/index.php/th/news-menu/2018-08-01-04-31-09?start=150#sigFreeIdd779500157
รายงานโดย : ปศุสัตว์จังหวัดลพบุรี กรมปศุสัตว์